เลือกหน้า

รูปที่ 1: กรอบความคิดในหัวของคุณครู – Fixed Mindset

blog03_01

ที่ผ่านมา เวลามีใครมาบอกให้เราปรับปรุงการสอน เราก็หัวร้อนขึ้นมาทันที ว่า เอ่อ “คิดว่ามีเวลาเหรอ” “ไม่มีทรัพยากรอะไรให้เลยเนี่ยนะ” “เดี๋ยว ๆ มันต้องไปอบรมก่อนมั้ย” “แต่ว่ามันต้องอ้างอิงจากหนังสือของใครสักคนก่อนไม่ใช่เหรอ” “ต้องสอนเพื่อให้นักเรียนทำข้อสอบได้ไม่ใช่เหรอ” “แล้วนักเรียนจะเชื่อฟังเราอยู่ไหม” “ฉันก็สอนโอเคแล้วนี่นา คะแนนประเมินก็ผ่านเกณฑ์ตลอด” และ ฯลฯ

อจต เป็นครบทุกข้อเลย

แต่นี่แหละ คือสิ่งที่เขาเรียกว่า Fixed Mindset กรอบความคิด ของคนที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงอะไร เราอยากจะทำแบบเดิม เพราะเราคิดว่ามันก็น่าจะดีอยู่แล้ว

อยากถามคำถามหนึ่งว่า สิ่งที่เราเคยได้เรียนรู้ตอนเด็กในรูปแบบของ การศึกษา 1.0 เมื่อสิบปี หรือยี่สิบปีก่อน สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้หรือไม่ คำตอบส่วนใหญ่ เชื่อว่าจะเหมือนกัน คือ ไม่ได้

สิ่งที่พวกเราทำหรือสอนในปัจจุบัน บางครั้งเป็นศาสตร์หรือแนวคิดใหม่เอี่ยมอ่องซึ่งเพิ่งเกิดภายในไม่ถึงสิบปีที่ผ่านมา แล้วพวกเราผู้ใหญ่อย่างเราเอาตัวรอดได้อย่างไร เพราะเรามีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองใช่หรือไม่

คุณสมบัตินี้เองเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราจะต้องสร้างให้กับนักเรียนของเราผ่านระบบการศึกษาแบบ 3.0 (ดูบล็อก Topic 1)

ก่อนจะพานักเรียนของเราไปสู่จุดนั้นได้ ตัวเราต้องออกจากกรอบความคิดเดิมที่ว่าอะไร ๆ ก็ไม่ได้ ๆๆๆ กันเสียก่อน ด้วยการสร้างแนวความคิดแบบใหม่ให้กับตัวเอง แบบที่เรียกว่า Growth Mindset นั่นก็คือ แนวความคิดที่เชื่อว่าเราเปลี่ยนแปลงได้ พัฒนาได้ ประมาณ Yes Man คิดบวก เราทำได้ทุกสิ่ง แม้จะมีอุปสรรคบ้าง มันก็เป็นบทพิสูจน์แล้วเราจะก้าวข้ามมันไปได้แน่นอน

จากเดิม เราจะเปลี่ยนเป็นคิดว่า “ถ้าทรัพยากรที่มีมันไม่พอ เราจะใช้ประโยชน์จากเครือข่ายพันธมิตรของเรา” “เราสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมันดีขึ้นน่าสนใจขึ้นได้” “เราสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ให้กับสภาพการเรียนรู้ได้” “เราจะทำใจได้ว่าบทบาทในห้องเรียนของเราจะเปลี่ยนแปลงไป” “เราสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับนักเรียนได้อย่างแท้จริง”

รูปที่ 2: ทำลายขีดจำกัดทางความคิดด้วยความเชื่อในศักยภาพของตนเอง – Growth Mindset

blog03_02

การเปลี่ยนแปลงจาก Fixed Mindset เป็น Growth Mindset นั้นยากพอสมควร ต้องใช้ความกล้าหาญอย่างมากที่จะเดินออกจากพื้นที่ที่เราคุ้นเคย สำหรับ อจต ใช้เวลาประมาณหนึ่งปี

อจต ขอเป็นกำลังให้ให้คุณครูทุกท่านก้าวข้ามความกลัวต่าง ๆ เพื่อพาตัวเองไปสู่ดินแดนของอิสระเสรีทางความคิด เพื่อให้พวกเราสามารถนำทางเด็ก ๆ ของเราไปสู่อนาคตที่คาดเดาไม่ได้

เครดิตภาพ: https://usergeneratededucation.wordpress.com/2014/12/01/experiences-in-self-determined-learning-moving-from-education-1-0-through-education-2-0-towards-education-3-0/